จำเป็นต้องแสดงบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัยของบริษัทฯ เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทฯ หรือไม่
ท่านสามารถแสดงบัตรประจำตัวประชาชนทดแทนได้ โดยท่านจะต้องแจ้งเพิ่มเติมว่ามีประกันกับบริษัทฯ
กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่คู่สัญญาของบริษัทฯ จะเบิกสินไหมค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่
กรณีนี้ ท่านจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำมาเบิกกับบริษัทฯ ในภายหลัง โดยช่วงเวลาที่ท่านเข้ารับการรักษา กรมธรรม์จะต้องมีผลบังคับอยู่
ในช่วงผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย หากยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัย จะสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทฯ ได้หรือไม่
ในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันกรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลบังคับ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โดยท่านจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยก่อนเท่านั้น จึงจะสามารถใช้สิทธิผ่านโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทฯ ผ่านบริการ Fax Claim ในช่วงระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยนั้นได้ กรณีที่ท่านยังไม่ชำระเบี้ยฯ ท่าจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วมาเบิกกับบริษัทฯ ในภายหลัง
กรณีต้องการใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลต้นฉบับคืน เพื่อไปเบิกกับที่อื่น จะต้องทำอย่างไร
บริษัทฯ ยินดีคืนต้นฉบับคืนให้ท่าน เพียงท่านแจ้งความประสงค์โดยใช้ หนังสือแจ้งความประสงค์ขอเอกสารคืน download คลิก เพื่อขอใบเสร็จรับเงินคืน โดยแจ้งมาพร้อมการเรียกร้องสินไหมทดแทน ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
- กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าชดเชยฯ ให้ไม่เต็มตามจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงิน บริษัทฯ จะคืนใบเสร็จรับเงินต้นฉบับให้โดยประทับตรารับรองการจ่ายลงในใบเสร็จรับเงิน เพื่อนำไปเบิกส่วนที่เหลือกับที่อื่นต่อไป
- กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าชดเชยฯ ให้เต็มตามจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินแล้ว บริษัทฯ สงวนสิทธิที่จะไม่คืนใบเสร็จรับเงินต้นฉบับให้ แต่จะสำเนาใบเสร็จรับเงินพร้อมประทับตรา รับรองการจ่ายคืนให้แทน
ใช้เวลานานเท่าไรในการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน
ในขั้นตอนปกติเมื่อบริษัทฯ รับเอกสารการเบิกสินไหมค่ารักษาพยาบาลจะดำเนินการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหลักฐานที่ครบถ้วนและถูกต้อง แต่หากผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้รับในกำหนดเวลาดังกล่าว สามารถติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ที่
Line : @philliplife หรือ email : [email protected] หรือ
โทรศัพท์ 02-022-5800 ในเวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ 8.30 – 17.00 น.
เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยต้องดำเนินการอย่างไรบ้างในการเรียกร้องสินไหมมรณกรรม
ผู้รับผลประโยชน์ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบ ภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต และท่านสามารถเตรียมเอกสารในการเรียกร้องสินไหมมรณกรรม รายละเอียด คลิก
กรณีเมื่อผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หรือผู้ชำระเบี้ยฯ ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรหรือเสียชีวิต ซึ่งบริษัทได้รับเอกสารเรียกร้องสินไหมแล้วแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ผู้รับผลประโยชน์ต้องชำระเบี้ยประกันภัยที่ครบกำหนดชำระหรือไม่
ผู้รับผลประโยชน์ต้องชำระเบี้ยประกันภัยในงวดที่ถึงกำหนดชำระ เพื่อรักษาสถานะกรมธรรม์ให้ยังคงมีผลบังคับ หากบริษัทฯ พิจารณาเสร็จสิ้นและได้รับการยกเว้นเบี้ยฯ บริษัทฯจะดำเนินการคืนเบี้ยประกันภัยดังกล่าวแก่ผู้รับผลประโยชน์ต่อไป
ทำไมผู้รับผลประโยชน์ต้องดำเนินการแสดงตน (KYC) สำหรับผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 บริษัทฯมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและดำเนินการแสดงตน (KYC) สำหรับผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะกระทำเมื่อผู้รับผลประโยชน์ยื่นเอกสารโดยตรงกับพนักงานบริษัทฯ รวมถึงสาขาต่างๆ ด้วย
ติดเชื้อโควิดและกักตัว Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไหม
สามารถเบิกได้ หากมีเอกสารยืนยันการติดเชื้อและแพทย์ผู้ดูแลรักษาของหน่วยบริการสาธารณสุข
พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ผู้ป่วยรายนั้นสามารถแยกกักตัว จึงจะเข้าเงื่อนไขการพิจารณา
โดยการเบิกค่ารักษาพยาบาล มีข้อกำหนดดังนี้
- กรณีมีความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก (OPD) จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายจริงตามวงเงิน OPD
- กรณีมีความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน (IPD) จ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก ภายใต้วงเงิน ‘ค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล’
- กรณีมีความคุ้มครองทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน (OPD & IPD) จ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก ภายใต้วงเงิน ‘ค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล’ และ OPD Limit
ทั้งนี้ ค่ารักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์เบิกได้ตามที่จ่ายจริงแบบผู้ป่วยนอกแต่ไม่เกินจำนวน ผลประโยชน์สำหรับค่าใช้จ่าย ซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลและต้องเป็นการสั่งจากแพทย์โดยตรงเท่านั้น อาทิ เช่น
- ค่าแพทย์ค่าพยาบาลที่รักษา
- ค่ายาพื้นฐาน และยาฟ้าทะลายโจร
- ค่าปรอทวัดไข้ (ที่ไม่ใช่แบบ Digital)
- ค่าหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์ (จัดหาโดยโรงพยาบาล และคลินิกที่ร่วมในโครงการ Home Isolation หรือ Community Isolation เท่านั้น)
* ทั้งนี้ไม่คุ้มครองค่าจัดส่งยา
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์และอ้างอิงเพิ่มเติมจากเอกสาร คปภ. คำสั่งนายทะเบียนที่ 44/2564
เอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ต้องใช้อะไรบ้าง
- เอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ต้องใช้อะไรบ้าง
- เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR
- ใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่ให้บริการ โดยจะต้องมีหลักฐานว่าเป็นสถานพยาบาลที่สามารถให้บริการแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation
- ใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาล หรือหน่วยงานของรัฐรายละเอียดค่ารักษาพยาบาล
- ใบคำร้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน download คลิก
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าแรก ของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของบัญชี
หากซื้อชุดตรวจโควิดด้วยตนเองมาตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด จากนั้นซื้อยาและรักษาตัวเองที่บ้าน โดยที่ไม่ได้เข้าระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้หรือไม่
ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ หากพบว่าติดเชื้อจำเป็นต้องลงทะเบียนตามเงื่อนไขการเข้ารักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือศูนย์แยกกักในชุมชน (Community Isolation) ที่เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยสามารถลงทะเบียนผ่าน https://crmsup.nhso.go.th/ เพื่อเข้าสู่ระบบการดูแล
ติดเชื้อโควิดและกักตัว Home Isolation หรือ Community Isolation สามารถเบิกค่าชดเชยรายวันได้ไหม
จะสามารถเบิกได้ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- มีเอกสารแสดงว่าผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยแพทย์ผู้ดูแลรักษา
- มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในสถานพยาบาล แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับผู้เอาประกันภัยได้ รวมถึงผู้มีภาวะเสี่ยง ได้แก่ ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีภาวะอ้วนดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัม/ม.² หรือมีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
- จะจ่ายค่าชดเชยสูงสุดไม่เกิน 14 วัน นับแต่วันที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ
เอกสารเบิกค่าชดเชยรายวัน หรือชดเชยรายได้ ภายใต้การรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ต้องใช้อะไรบ้าง
จะต้องใช้เอกสาร ดังนี้
- เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR
- ใบรับรองแพทย์ระบุความจำเป็นทางการแพทย์ในการรับการรักษาในโรงพยาบาล หรือกรณีไม่มีสถานพยาบาลรองรับผู้เอาประกันภัยได้ แต่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยใน โดยแพทย์ต้องระบุว่าการรักษานี้ผู้ป่วยถูกจำแนกเป็นผู้ป่วยสีเขียว,เหลือง หรือแดง
- ใบคำร้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน download คลิก
4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าแรก ของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของบัญชี
มรณกรรม
การติดเชื้อโควิด
การเรียกร้องสินไหม
การเรียกร้องสินไหม