ตะกาฟุล หมายถึง “ การค้ำประกันร่วมกัน (Joint Guarantee)”
ซึ่งเป็นรูปแบบการประกันที่ศาสนาอิสลามให้การยอมรับ บนพื้นฐานของการให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกัน (อัต-ตะอาวุน) และกันและการบริจาค (อัต-ตะบัรรุอฺ) เพื่อความชัดเจน โปร่งใส และสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม
การดำเนินงานของฟิลลิปตะกาฟุลจะปราศจากสิ่งที่ต้องห้ามตามหลักศานาอิสลาม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ปราศจากความคลุมเครือและไม่แน่นอน (ฆอรอร)
ผลิตภัณฑ์ตะกาฟุล ถูกออกแบบขึ้นมาบนพื้นฐานของการบริจาค (ตะบัรรุอฺ) ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกตะกาฟุล โดยสมาชิกตะกาฟุลที่ชำระเงินสมทบเข้าสู่กองทุนตะกาฟุล จะเป็นทั้งผู้ช่วยเหลือและได้รับการช่วยเหลือ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น สอดคล้องกับคำดำรัสของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ส่วนหนึ่งจากบทอัลมาอิดะห์ (5) โองการที่ 2 ว่า
وَتَعَاوَنُوا۟ عَلَى ٱلْبِرِّ وَٱلتَّقْوَىٰ ۖ وَلَا تَعَاوَنُوا۟ عَلَى ٱلْإِثْمِ وَٱلْعُدْوَٰنِ ۚ
ความว่า “และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นศัตรูกัน”
ดังนั้น สัญญาตะกาฟุลจึงปราศจากความคลุมเครือและไม่แน่นอน ต่างจากประกันชีวิตซึ่งเป็นรูปแบบของการซื้อขายสัญญา โดยสัญญาดังกล่าวจะผูกมัดกับสิ่งที่ไม่แน่นอน โดยจะได้รับเงินชดเชยหรือผลประโยชน์จากบริษัทฯ ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียขึ้น
2.ปราศจากการพนันและการเสี่ยงโชค (มัยซิร)
รูปแบบการดำเนินงานของตะกาฟุล จะปราศจากลักษณะของการเสี่ยงโชค การชำระเงินสมทบของสมาชิกตะกาฟุล จะมีลักษณะแตกต่างจากการเดิมพันเสี่ยงโชคกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เป็นไปในรูปแบบของการช่วยเหลือสมาชิกที่เดือดร้อน นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของบริษัท มิได้ขึ้นอยู่กับการที่สมาชิกตะกาฟุลเคลมค่าสินไหมมากน้อยเพียงใด แต่ขึ้นอยู่กับการลงทุนและการปันผลกำไรตามหลักมุฎอรอบะฮ์ สอดคล้องกับหลักฐานจากอัลกุรอานที่สั่งห้ามมุสลิมในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนัน ในบทอัลบะเกาะเราะฮ์ (2) โองการที่ 219 ว่า
۞ يَسْـَٔلُونَكَ عَنِ ٱلْخَمْرِ وَٱلْمَيْسِرِ ۖ قُلْ فِيهِمَآ إِثْمٌ كَبِيرٌ وَمَنَـٰفِعُ لِلنَّاسِ وَإِثْمُهُمَآ أَكْبَرُ مِن نَّفْعِهِمَا ۗ وَيَسْـَٔلُونَكَ مَاذَا يُنفِقُونَ قُلِ ٱلْعَفْوَ ۗ كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمُ ٱلْـَٔايَـٰتِ لَعَلَّكُمْ تَتَفَكَّرُونَ.
ความว่า “พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน และพวกเขาจะถามเจ้าว่า พวกเขาจะบริจาคสิ่งใด ? จงกล่าวเถิดว่า สิ่งที่เหลือจากการใช้จ่าย ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงโองการทั้งหลายแก่พวกเจ้าหวังว่าพวกเจ้าจะได้ใคร่ครวญ”
3.ปราศจากดอกเบี้ย (ริบา)
สำหรับเงินสมทบที่สมาชิกตะกาฟุล ชำระเข้ามาสู่ระบบตะกาฟุล ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปฝากในธนาคารอิสลาม โดยผลตอบแทนที่ได้รับกลับมาจะเป็นรูปแบบของอัตรากำไรซึ่งมีความแตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สำหรับสัญญาตะกาฟุล จะไม่สามารถกู้เงินโดยใช้สัญญาตะกาฟุลเป็นหลักประกันได้ ซึ่งแตกต่างจากประกันชีวิตทั่วไปที่มาการนำเบี้ยประกันไปฝากในธนาคารพานิชย์เพื่อรับดอกเบี้ย และเปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันภัยสามารถกู้เงิน โดยใช้กรมธรรม์เป็นหลักประกัน โดยคิดดอกเบี้ยตามที่บริษัทฯกำหนดสอดคล้องกับหลักฐานจากอัลกุรอานที่สั่งห้ามมุสลิมให้ออกจากจากดอกเบี้ย ในบทอัลบะเกาะเราะห์ (2) โองการที่ 278 – 279 ว่า
يَـٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوا۟ ٱتَّقُوا۟ ٱللَّهَ وَذَرُوا۟ مَا بَقِىَ مِنَ ٱلرِّبَوٰٓا۟ إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ
فَإِن لَّمْ تَفْعَلُوا۟ فَأْذَنُوا۟ بِحَرْبٍ مِّنَ ٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦ ۖ وَإِن تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَٰلِكُمْ لَا تَظْلِمُونَ وَلَا تُظْلَمُونَ. (289-287)
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา และถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยว่า ซึ่งสงครามจากอัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ (หมายถึง อัลลอฮฺและศาสนทูตประกาศเป็นปฏิบักษ์อย่างชัดเจนกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย) และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม”
4.ปราศจากการลงทุนที่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม
สำหรับการบริหารกองทุนตะกาฟุลส่วนของเงินสมทบตะกาฟุล ทางบริษัทฯ ได้มีการนําไปลงทุนอย่างถูกต้องตามหลักการอิสลาม เพื่อให้เกิดผลกําไรในการนํามาแบ่งสรรให้กับสมาชิกตะกาฟุล โดยยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาหลักทรัพย์ที่จะนำไปลงทุนดังต่อไปนี้
เกณฑ์การดำเนินธุรกิจ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจดังต่อไปนี้จะถูกคัดออกจากการนำไปพิจารณาลงทุน
1) ธนาคาร สถาบันการเงินหรือประกันภัยที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจตามหลักศาสนาอิสลาม
2) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์
3) ธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสุกร
4) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบันเทิง ประกอบด้วย คาสิโน การพนัน โรงภาพยนตร์ ดนตรี สื่อลามก และโรงแรม
5) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ
6) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายอาวุธ
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการฟิลลิปซะรีอะฮ์ ในการให้คำปรึกษา กํากับและตรวจสอบการบริหาร เงินกองทุนตะกาฟุล และการดำเนินธุรกิจตะกาฟุลให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด
ประวัติความเป็นมาของฟิลลิปตะกาฟุล
ฟิลลิปตะกาฟุล หรือในชื่อเดิมคือ ฟินันซ่าตะกาฟุล เป็นรูปแบบของการประกันที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม โดยบริษัทฟินันซ่าประกันชีวิต (ชื่อเดิม) ในขณะนั้น เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของประเทศไทยที่นําเสนอสัญญาตะกาฟุลให้บริการแก่พี่น้องมุสลิม ได้รับคำรับรองจากท่านจุฬาราชมนตรี นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ณ วันที่ 18 เมษายน 2549 ดังนี้
คำรับรองนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่า “สัญญาตะกาฟุลเพื่อครอบครัว” (Family Takaful) ของ บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด ซึ่งได้รับความเห็นชอบโดยกรมการประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามทุกประการ”
แม้ว่าบริษัทฯ จะมีการดำเนินธุรกิจประกันชีวิตในแบบทั่วไปด้วยก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติบริษัทฯ ได้มีการดําเนินงานในรูปแบบของ"หนึ่งบริษัทสองระบบ" เป็นการแยกระบบงาน "ตะกาฟุล" ออกจากการดำเนินธุรกิจปกติ โดยการดําเนินงานของสัญญาตะกาฟุลจะเป็นการแยกระบบบัญชีรายได้, ค่าใช้จ่าย, การลงทุน รวมทั้งเงินกองทุนออกจากระบบปกติของบริษัทฯ โดยสิ้นเชิง
ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ตะกาฟุล ฟิลลิปตะกาฟุลจะยึดหลักพื้นฐาน ตามศาสนาอิสลาม ดังนี้
จากหลักการพื้นฐานข้างต้น จึงนำไปสู่รูปแบบการบริหารจัดการของฟิลลิปตะกาฟุล ดังรูป
จากเงินสมทบของสัญญาตะกาฟุลที่ได้รับ บริษัทฯ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์ มีการแยกส่วนของเงินสมทบตะกาฟุลที่เป็นไปตามพื้นฐานของหลักการบริจาค (ตะบัรรุอฺ) และหลักการสะสมทรัพย์ (มุฎอรอบะฮ์) ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ บริษัทฯ ได้มีการจัดสรรเป็น ดังนี้
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากธุรกิจตะกาฟุลโดยตรงจะนํามาทั้งจำนวน เช่น ค่าสินไหมการเสียชีวิตของสมาชิกตะกาฟุล, ค่าใช้จ่ายพนักงานที่ปฏิบัติงานในสายธุรกิจตะกาฟุล เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากธุรกิจตะกาฟุลโดยอ้อม จะนํามาเฉพาะส่วนที่เป็นของธุรกิจตะกาฟุลเท่านั้น โดยจะแบ่งเป็นสัดส่วนจากจำนวนธุรกิจตะกาฟุลต่อธุรกิจโดยรวม ของบริษัทฯ เช่น ค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน ค่าใช้จ่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ในส่วนของการลงทุน บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามหลักชะรีอะฮ์ โดยมีคณะกรรมการฟิลลิปชะรีอะฮ์ เป็นผู้กำกับให้ถูกต้องตามหลักการอิสลาม
คณะกรรมการฟิลลิปชะรีอะฮ์ที่ประกอบด้วยบุคคลที่ทรงคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญทั้งด้านการเงินของชาวมุสลิม และผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลามขึ้นมาเป็นผู้ดูแล และบริหารเงินสมทบตะกาฟุลที่ได้รับมาให้ถูกต้องตามหลักชะรีอะฮ์ภายใต้ความร่วมมือของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลทั้งการออมทรัพย์และการลงทุนให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา
บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ผสมผสานด้วยศักยภาพความชำนาญและความแข็งแกร่งของหุ้นส่วนทางธุรกิจ ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของมุสลิมไทย เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกาฟุลเพื่อพี่น้องชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะ นั่นคือ “ฟิลลิปตะกาฟุล
เราดูแลใคร?
ผลิตภัณฑ์ตะกาฟุล ถูกออกแบบและจัดตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานผลิตภัณฑ์ประกันที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามของพี่น้องมุสลิมในประเทศไทย โดยบริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการให้บริการผลิตภัณฑ์ตะกาฟุลสำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม และไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม รวมถึงบริษัท หรือองค์กรต่างๆ ที่สนใจสร้างหลักประกันประกันตะกาฟุลเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือ ดูแลยามเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
พันธมิตรของเรา
· MOU with Ibank
· MOU with Islamic Cooperatives
คณะกรรมการฟิลลิปชะรีอะฮ์ 2567